วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความหมายของคุณธรรม จริยธรรม

คุณธรรม  (Moral / Virtue)  
คุณธรรม  คือ  คุณ + ธรรมะ    คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและ
                      สังคม  ซึ่งรวมสรุปว่าคือ  สภาพคุณงาม ความดี
คุณธรรม (Virtue)   แนวความคิดที่ดีเป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี
1. สภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ
2.  คุณธรรม คือจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของผู้นั้น

จริยธรรม (Ethics)

 “จริยธรรม = จริย + ธรรมะ  คือ ความประพฤติที่เป็นธรรมชาติ เกิดจากคุณธรรมในตัวเอง  
          ก่อให้เกิดความ  สงบเรียบร้อยในสังคม      รวมสรุปว่าคือ   ข้อควรประพฤติปฏิบัติ
          จริยธรรม(Ethics) ความเป็นผู้มีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ เสียสละหรือประพฤติดีงาม
1. ประมวล กฎหมาย ที่กลุ่มชนหรือสังคมหนึ่งๆ ยอมรับเป็นแนวควบคุมความประพฤติ เพื่อแยกแยะให้เห็นว่าอะไรควรหรือไปกันได้กับการบรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
2. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วย ความประพฤติ และการครองชีวิต ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด หรืออะไรควร อะไรไม่ควร
3. กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์เอง ได้แก่ ความเป็นผู้มีปัญญา และเหตุผลหรือปรีชาญาณทำให้มนุษย์มีมโนธรรมและ รู้จักไตร่ตรองแยกแยะความดี - ความชั่ว, ถูก - ผิด, ควร - ไม่ควร เป็นการควบคุมตัวเอง และเป็นการควบคุม กันเองในกลุ่ม หรือเป็นศีลธรรมเฉพาะกลุ่ม



 

 

ที่มา : charuaypontorranin

คุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลที่มีต่อสังคมในสังคมประชาธิปไตย

คุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลที่มีต่อสังคมในสังคมประชาธิปไตย 
คุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลที่พึงมีต่อสังคม หมายถึงการมีคุณงามความดีในการทำหน้าที่พลเมืองของสังคมประชาธิปไตย ความสำคัญของประเด็นนี้อยู่ที่การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ดี ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับการมีผู้ปกครองที่ดีมีคุณธรรม การทำหน้าที่ให้บริการประชาชน บำบัดทุกข์บำรุงสุข ให้กับประชาชน เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับ การทำหน้าที่ต่อประเทศชาติของประชาชนด้วย
คุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลที่มีต่อสังคมในสังคมประชาธิปไตย ประกอบด้วย การมีรูปแบบความคิดสร้างสรรค์ทางบวกในการแสดงบทบาทอย่างแข็งขันในการร่วมพัฒนา และแก้ไขปัญหาของสังคมด้านต่าง ๆ เช่น
  1. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจประเด็นสาธารณะอย่างแข็งขัน
  2. การมีส่วนร่วมในการกระทำเพื่อส่วนรวมด้วยความเต็มใจ
  3. การสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
  4. การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของบ้านเมือง/เคารพในกฎกติกาของสังคม
  5. การติดตามตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารและหน่วยงานของรัฐ
ทั้งนี้การมีบทบาทดังกล่าวหากทำด้วยความไม่มีคุณธรรมจริยธรรม ก็ก่อให้เกิดความวุ่นวายเดือนร้อนและทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม จนถึงการล้มล้างระบบการเมืองการปกครอง กลายเป็นอนาธิปไตยแทนประชาธิปไตยได้ ในบางกรณีก็อาจกลายเป็นเครื่องมือของคนที่ไม่หวังดีต่อประเทศชาติ





ที่มา :  dmsc

คุณธรรม-จริยธรรม

คุณธรรม-จริยธรรมที่ควรปลูกฝังแก่นักศึกษา


ภาพประกอบ


จริยธรรม  เป็น  หลักความประพฤติ  หรือ แนวทางในการปฏิบัติตน  ที่ ควรแก่การยึดถือ ปฏิบัติ  เพื่อสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข  โดยมีคุณธรรม และ ศีลธรรมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ     การปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม  จึงเปรียบเสมือนการพัฒนาคุณภาพจิตใจ ที่มีอิทธิพลต่อความประพฤติของคน     คุณธรรม  เป็นสภาวะที่อยากให้เราทำอะไรที่เป็นคุณ    ศีลธรรม  เป็นสภาวะที่เราห้ามจิตใจของเราไม่ให้ทำในสิ่งผิด หรือบอกไม่ให้คนอื่นทำ   ทั้งคุณธรรม และ ศีลธรรม จึงเป็นตัวกำหนดความประพฤติของเรา   ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกที่ควร   คือ  เป็นตัวกำหนดจริยธรรม      จริยธรรมที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลมาจากศาสนา ที่เกี่ยวข้องกับ   วัฒนธรรม   ประเพณี  และกฎหมาย









ที่มา : jariyatam